วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเดินจงกรม 6 แบบ


การเดินจงกรม  6 แบบ     การเดินจงกรมจะใช้สติพิจารณารู้อาการที่ปรากฏทางเท้า เป็น 6 แบบ หรือ  6 ระยะดังนี้
1. การเดินจงกรม 1 ระยะ กำหนดรู้ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ

        เดินจงกรม 1 ระยะ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ตั้งสติกำหนด ยกเท้าขึ้นเหนือระดับพื้นเสมอตาตุ่มแล้วก้าวเท้าขวาช้า ๆ พอประมาณ โดยกำหนดในใจตามไปพร้อมกับเท้าที่ก้าวไปให้ได้ปัจจุบัน อย่าก้าวไปก่อนแล้วกำหนดตามทีหลัง และอย่ากำหนดก่อนโดยที่ยังมิได้ยกเท้าขึ้น เช่น เดินจงกรม 1 ระยะ ขณะที่เท้าขวาก้าวไป จนวางเท้าลงกับพื้น ก็ให้กำหนดในในแต่แรกเริ่มยกเท้า ไปกับคำว่า ?ขวาย่างหนอ? พอเท้าเหยียบลงถึงพื้นก็ให้ทันกับคำว่า ?หนอ? พอดี
        และขณะที่ยกเท้าซ้ายก้าวไปจนวางเท้าลงกับพื้นก็ให้กำหนดในใจว่า ?ซ้ายย่างหนอ? พอเท้าลงถึงพื้นก็ให้ทันกับคำว่า ?หนอ? พอดี เช่นเดียวกับเท้าขวา ทำอย่างนี้ทุกครั้งและทุกก้าว เรียกว่าจงกรม 1 ระยะ
        เมื่อเดินไปถึงที่สุด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ให้หยุดยืนสองเท้าวางชิดกัน แล้วกำหนดในใจช้า ๆ ว่า ?หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดหนอ? เมื่อรูปยืนปรากฏขึ้นก็ให้กำหนดในใจว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? เมื่อจะกลับก็ให้หันตัวมาทางขวา และยกเท้าขวาแยกมาตั้งเป็นมุมฉาก พร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? แล้วยกเท้าซ้ายตามมาวางชิดกันกับเท้าขวา พร้อมกับกำหนดใจใจว่า ?กลับหนอ?
        ขั้นที่ 2 ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งที่ 1 คือ หมุนเท้าขวาแยกมาตั้งเป็นมุมฉาก พร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? แล้วยกเท้าซ้ายตามมาวางชิดกับเท้าขวาพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?กลับหนอ? เมื่อรูปยืนปรากฏขึ้น ก็กำหนดว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? แล้วจงเดิน พร้อมกับกำหนดว่า ?ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ? ต่อไป

        การเดินจงกรมและการกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอ ดังนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติกรรมฐานในอิริยาบถบัพพะ ที่ว่า
        ?คจฺฉนฺโต  วา  คจฺฉามีติ  ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็ให้กำหนดรู้ว่าเดินอยู่
        ฐิโต  วา ฐิโตมหิติ  ปชานาติ เมื่อยื่นอยู่ก็ให้กำหนดรู้ว่ายืนอยู่?
        และการเดินจงกรมไปยืนอยู่กับกลับ พร้อมกับกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอ ๆ เป็นการฝึกปฏิบัติกรรมฐานในหมวดสัมปชัญญะบัพพะ ที่ว่า
?อภิกฺกนฺเต  ปฏกฺกนฺเต  สมฺปชานการี  โหติ เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการก้าวไปข้างหน้าในการถอวไปข้างหลัง?
        ตลอดเวลาที่เดินจงกรม 1 ระยะ นี้ วิปัสสนาจารย์ จะสอนให้โยคีนั่งสมาธิกำหนดอาการพอง - ยุบ สลับกันไปด้วย


เดินจงกรม 2 ระยะ ยกหนอ เหยียบหนอ  
       โยคีพึงยืนชิดเท้าทั้งสองให้ปลายเท้าเสมอกัน แล้วตั้วตัวให้ศีรษะตรง และกำหนดในใจว่า ?ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ? ตั้งสติกำหนดและกดเท้าซ้ายมั่นไว้ แล้วยกเท้าขวาขึ้นช้า ๆ ควบไปกับการยื่นเท้าไปข้างหน้า กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ? แล้วก้าวไปวางเท้าลงกับพื้นพร้อมกับกำหนดใจในว่า ?เหยียบหนอ ดังนี้เรียกว่า เดินจงกรม 2 ระยะ
        นอกนั้นคงปฏิบัติเหมือนการเดินจงกรม 1 ระยะ ทุกประการ
                            


เดินจงกรม 3 ระยะ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
       การเดินจงกรม 3 ระยะ ก็ไม่ผิดแผกแตกต่างกับการเดินจงกรมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะต่างกันก็แต่ว่า ขณะยกเท้าขึ้นก็ให้กำหนดในใจ ไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของเท้าว่า ?ยกหนอ? ขณะที่ยกเท้าขึ้นจากพื้นเสมอตาตุ่ม เท้าเคลื่อนไปข้างหน้านั้นกำหนดว่า ?ย่างหนอ? ขณะทั้งลงเหยียบราบกับพื้นกำหนดว่า ?ย่างหนอ? ขณะเท้าลงเหยียบรมกับพื้นให้กำหนดว่า ?เหยียบหนอ? ในการเดินจงกรม 3 ระยะ นี้
        ระยะที่ 1 ให้ยกเท้าขึ้นตรง ๆ ไม่ใช้เผยอส้นเท้าก่อน แล้วจึงยกเท้า เพราะจะเหมือนกับกการเดินจงกรม 4 ระยะ ที่จะกล่าวต่อไป


เดินจงกรม 4 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

        1. ให้เผยอส้นขึ้นพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
        2. ขณะยกเท้าขึ้นจาพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่ยื่นเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่เท้าเหยียบราบกับพื้นให้กำหนดว่า ?เหยียบหนอ?
        จะเห็นได้ว่าไม่ต่างกับเดินจงกรม 3 ระยะ เพียงแต่เพิ่มระยะ 1 โดยเผยอส้นขึ้นก่อน พร้อมกับกำหนดใจในว่า ?ยกส้นหนอ? แล้วจึงยกเท้าขึ้นจากพื้น เช่นเดียวกับการเดิน 3 ระยะ
เดินจงกรม 5 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ 
     1. ให้เผยอส้นขึ้นพร้อมกับกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
         2. ขณะยกเท้าขึ้นจากพื้อนให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่ลดเท้าลงต่ำแต่ยังไม่ถึงพื้น ให้กำหนดว่า ?ลงหนอ?
        5. ขณะที่ปลายเท้าแตะพื้นกำหนดว่า ?ถูก? จนส้นเท้าสัมผัสพื้นกำหนด ?หนอ?


เดินจงกรม 6 ระยะ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ


      1. ให้เผยอส้นเท้าขึ้นแล้วกำหนดในใจว่า ?ยกส้นหนอ?
        2. ขณะยกเท้าขึ้นพ้นจากพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ยกหนอ?
        3. ขณะที่เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าให้กำหนดในใจว่า ?ย่างหนอ?
        4. ขณะที่ลดเท้าลงต่ำแต่ยังไม่ถึงพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ลงหนอ?
        5. ขณะที่ปลายเท้าแตะกับพื้นให้กำหนดในใจว่า ?ถูกหนอ?
        6. ขณะที่ส้นเท้ากดลงกับพื้นให้กำหนดในใจว่า ?กดหนอ?


ข้อที่ควรสังเกต
       1. เมื่อโยคีเดินจงกรมในระยะใดได้ผลดี เมื่อพระวิปัสสนาจารย์ได้ตรวจสอบอารมณ์แล้วเห็นว่าโยคีปฏิบัติได้ผลเป็นที่พอใจ ก็จะสอนให้เดินไปจนถึง 6 ระยะ โยคีผู้ปฏิบัติไม่ควรจะไปขอร้องหรือเร่งรัดพระวิปัสสนาจารย์ขอเปลี่ยน หรือขอต่อระยะเดินจงกรมตามอารมณ์ของตนเอง
        2. การเดินจงกรมตั้งแต่ 1 ถึง  6 ระยะ ต้องเริ่มต้นด้วยกากรก้าวเท้าขวาก่อน และมีข้อสังเกตบางประการ คือ ในการเดินจงกรมระยะที่ 1
        ถ้ากำหนดแยกคำ ?ขวา ? ย่าง ? หนอ และ ซ้าย ? ย่าง  - หนอ? จะกลายเป็น 3 ระยะไป จะซ้ำกับการเดินจงกรม 3 ระยะ จะต่างกันตรงที่มีหนอ 3 หนอ เท่านั้น
        ถ้ากำหดนควบ คำว่า ?ขวาย่าง ? หนอ? ก็จะกลายเป็น 2 ระยะไป จะซ้ำกับการเดินจงกรม 2 ระยะ จะต่างกันตรงที่มีหนอ 2 หนอ เท่านั้น แต่เราใช้ควบคำ คือ ?ขวาย่างหนอ? ?ซ้ายย่างหนอ?
        3. การเดินจงกรม ?2 ? 3 ? 4? เวลาวางเท้าลงกับพื้น เช่น ?เหยียบหนอ? ฝ่าเท้าควรถูกพื้นพร้อมกับทั้งส้นเท้าและปลายเท้า
        ส่วนระยะที่ 5 นั้น ?ถูกหนอ? ปลายเท้าลงก่อนนิดหนึ่ง แต่ในการเดินจงกรม 6 ระยะตอนถึงระยะถูกหนอ คงหย่อนปลายเท้าลงแตะพื้น ครั้นถึงระยะกดหนอจึงกดส้นเท้าลงกับพื้น
        4. การเดินจงกรม ไม่ควรเดินจงกรมครั้งหนึ่ง ๆ เกิน 1 ชั่วโมง แต่ควรเดินวันละหลาย ๆ ครั้ง